รับจดจำนอง, ขายฝาก.....หลักเกณฑ์ทั่วไป

วันที่ : 12/03/2017   จำนวนผู้ชม : 1,593

รับจดจำนอง หรือ รับขายฝาก  หลักเกณฑ์ทั่วไป

    ด้วยปัญหาเศรษฐกิจ ค่าครองชีพที่สูงขึ้น การทำการตลาดอย่างต่อเนื่องของสินเชื่อ บัตรเครดิตทั้งหลาย ทำให้หลายๆคนเผลอใช้เงินในอนาคตไปอย่างไม่ทันได้คิด  การขาดความรู้ในการวางแผนทางการเงิน ไม่มีวินัยทางการเงิน ทำให้หลายๆคนที่มีตำแหน่งหน้าที่การทำงานที่ดี รายได้สูง หลงเข้าไปติดบัญชีดำ ( Black list) จึงทำให้การขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน เป็นไปได้อย่างยากลำบาก

   ผู้ที่มีหลักทรัพย์ ประเภทอสังหาริมทรัพย์ ที่ดิน บ้าน คอนโด และอื่นๆ ก็เลือกใช้บริการในรูปแบบจำนอง หรือขายฝาก ซึ่งนิติกรรมทั้ง2 แบบนี้ที่มีความใกล้เคียงกันมาก เพราะ ทั้ง จำนองและ ขายฝาก ต้องไปทำนิติกรรม จดจำนอง หรือ ขายฝากที่สำนักงานที่ดินเหมือนกัน

    การจำนอง เมื่อสัญญาจำนองครบกำหนดชำระหนี้  ผู้รับจำนองหรือเจ้าหนี้จะบังคับหลักประกัน ที่ดิน บ้าน คอนโดมิเนียม หรือ อื่นๆ ผู้รับจำนองต้องมีหนังสือบอกกล่าวแจ้งให้ลูกหนี้ชำระหนี้ภายในเวลาอันสมควร (เช่น 30 วัน) หากครบกำหนดแล้วลูกหนี้ยังไม่ชำระหนี้ ผู้รับจำนองถึงจะฟ้องลูกหนี้ต่อศาล ขอให้ศาลสั่งให้นำเอาทรัพย์ที่จำนองนั้นออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาชำระหนี้ อย่างที่สถาบันการเงินฟ้องลูกหนี้ และนำบ้าน หรือที่ดินมาขายทอดตลาดที่กองบังคับคดีกันนั่นแหละค่ะ

   ส่วน การขายฝาก เมื่อมีการทำสัญญาขายฝาก กรรมสิทธิ์ในที่ดินหรือบ้านจะตกเป็นของผู้รับซื้อฝากหรือเจ้าหนี้ โดยมีข้อตกลงว่าลูกหนี้ต้องใช้สิทธิไถ่ถอนบ้านหรือที่ดินนั้นคืนภายในเวลาที่กำหนดตามสัญญา  การไถ่ทรัพย์ลูกหนี้ต้องนำสินไถ่ตามที่ตกลงกันในสัญญาส่งมอบแก่เจ้าหนี้ภายในเวลาที่กำหนดนั่นเองค่ะ

   ดังนั้น การพิจารณาว่าหลักประกันแบบไหน จะทำนิติกรรมแบบใด นายทุนมักจะพิจารณาจาก

1  หลักประกัน คือบ้าน ที่ดิน คอนโด อสังหาริมทรัพย์ นั่นเอง โดยดูจาก สภาพ ตำแหน่ง ที่ตั้ง ทำเล สภาพคล่องของหลักทรัพย์

2  ตัวผู้กู้ จากการพูดคุยกัน ตำแหน่ง หน้าที่ การงาน

3  วงเงินที่ใช้ เทียบกับหลักทรัพย์ 

   โดยทั่วไป หากหลักประกันที่มีมูลค่าสูง ใช้วงเงินที่ต่ำ พิจารณาให้จดจำนองได้  มักให้กัน ไม่เกิน 30 % ของราคาตลาด ดังนั้น หากต้องการ ใช้วงเงินที่สูงกว่า เช่น 40- 70 % ให้จดเป็น การขายฝากนั่นเอง

   ดังนั้น การจะทำนิติกรรมแบบไหน อย่างไร ต้องคุยกันทั้ง 2 ฝ่าย แฟร์ ๆ หากตรงไปตรงมา กันทั้ง  2  ฝ่าย  ลูกหนี้ ไม่เบี้ยวหนี้ ฝ่ายนายทุน ก็ไม่มีเจตนารมณ์ที่จะยึดทรัพย์ลูกหนี้  ทั้ง 2 ฝ่าย ต่างก็ปฏิบัติตามสัญญาที่ตกลงกันไว้  แน่นอน Happy ending  วิน วิน  เจ้าหนี้ได้ดอกเบี้ย  ลูกหนี้ ก็สามารถบรรเทาความเดือดร้อน แก้ปัญหาของตนเองได้นั่นเอง

   ขอให้ทุกท่านโชคดี  ได้พบกับนายทุนดีๆ ค่ะ